โควิด-19 : ทั่วโลกดำเนินการเรื่องวัคซีนกันอย่างไร มีชาติไหนที่ยังไม่เริ่มบ้าง

An illustration of a needle and a vaccine dose

เมื่อพูดถึงการผลิตและแจกจ่ายวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 คำถามที่ผู้คนส่วนใหญ่อยากรู้คำตอบมากที่สุด ก็คือตนเองจะได้ฉีดวัคซีนกับเขาบ้างหรือไม่ และจะได้ฉีดเมื่อใดกันแน่ ?

ทุกวันนี้มีเพียงไม่กี่ประเทศเท่านั้นที่วางแผนจัดหาและตั้งเป้าหมายการฉีดวัคซีนให้ประชากรของตนไว้อย่างชัดเจน แต่สำหรับอีกหลายประเทศทั่วโลก แผนการนี้ยังคงคลุมเครือไม่แน่นอน บีบีซีจึงได้สำรวจสถานะความพร้อมในการแจกจ่ายวัคซีนให้ผู้คนในหลายประเทศมาให้ทราบกันดังนี้

การฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ให้คนทั้งโลกถือเป็นเรื่องใหญ่ และเป็นเรื่องสำคัญที่ตัดสินความเป็นความตายกันเลยทีเดียว แต่มันก็เป็นเรื่องที่ต้องอาศัยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์อันซับซ้อน รวมทั้งความร่วมมือจากบรรษัทใหญ่ข้ามชาติหลายแห่ง ทั้งยังเกี่ยวข้องกับคำมั่นสัญญาที่ขัดแย้งกันเองของรัฐบาลต่าง ๆ ระบบราชการ และกฎระเบียบจุกจิกอีกมากมาย ซึ่งก็หมายความว่าการคาดคะเนเรื่องวัคซีนจะไปถึงมือคนทั่วโลกเมื่อใดและอย่างไรนั้น ไม่ใช่จะทำได้อย่างง่ายดายเลย

อากาเท เดมาไรส์ ผู้อำนวยการฝ่ายคาดการณ์ทิศทางโลก ประจำหน่วยข่าวกรองนิตยสารดิอีโคโนมิสต์ (EIU) ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว โดยเป็นงานวิจัยที่ครอบคลุมแง่มุมต่าง ๆ มากที่สุดชิ้นหนึ่ง

ทีมวิจัย EIU ได้วิเคราะห์สถานการณ์ด้านการกระจายวัคซีนโควิดทั่วโลก โดยดูที่ศักยภาพในการผลิตวัคซีน ควบคู่ไปกับโครงสร้างพื้นฐานทางสาธารณสุขที่จำเป็นต้องมี เพื่อให้กระจายวัคซีนได้ถึงมือประชาชนอย่างถ้วนหน้า รวมทั้งพิจารณาปัจจัยอื่น ๆ อย่างจำนวนประชากรที่แต่ละประเทศตั้งเป้าให้ได้รับวัคซีน และงบประมาณในการจัดซื้อที่มีอยู่ด้วย

ผลวิเคราะห์ที่ออกมาเป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ก่อนหน้านี้ ซึ่งก็คือเกิดความไม่เท่าเทียมในการเข้าถึงวัคซีนระหว่างประเทศที่ร่ำรวยกับประเทศที่ยากจน

การให้วัคซีนทั่วโลก

เลื่อนดูตาราง
โลก
61
12,120,524,547
จีน
87
3,403,643,000
อินเดีย
66
1,978,918,170
สหรัฐอเมริกา
67
596,233,489
บราซิล
79
456,903,089
อินโดนีเซีย
61
417,522,347
ญี่ปุ่น
81
285,756,540
บังกลาเทศ
72
278,785,812
ปากีสถาน
57
273,365,003
เวียดนาม
83
233,534,502
เม็กซิโก
61
209,179,257
เยอรมนี
76
182,926,984
รัสเซีย
51
168,992,435
ฟิลิปปินส์
64
153,852,751
อิหร่าน
68
149,957,751
สหราชอาณาจักร
73
149,397,250
ตุรกี
62
147,839,557
ฝรั่งเศส
78
146,197,822
ไทย
76
139,099,244
อิตาลี
79
138,319,018
เกาหลีใต้
87
126,015,059
อาร์เจนตินา
82
106,075,760
สเปน
87
95,153,556
อียิปต์
36
91,447,330
แคนาดา
83
86,256,122
โคลอมเบีย
71
85,767,160
เปรู
83
77,892,776
มาเลเซีย
83
71,272,417
ซาอุดีอาระเบีย
71
66,700,629
เมียนมา
49
62,259,560
ชิลี
92
59,605,701
ไต้หวัน
82
58,215,158
ออสเตรเลีย
84
57,927,802
อุซเบกิสถาน
46
55,782,994
โมร็อกโก
63
54,846,507
โปแลนด์
60
54,605,119
ไนจีเรีย
10
50,619,238
เอธิโอเปีย
32
49,687,694
เนปาล
69
46,888,075
กัมพูชา
85
40,956,960
ศรีลังกา
68
39,586,599
คิวบา
88
38,725,766
เวเนซุเอลา
50
37,860,994
แอฟริกาใต้
32
36,861,626
เอกวาดอร์
78
35,827,364
เนเธอร์แลนด์
70
33,326,378
ยููเครน
35
31,668,577
โมซัมบิก
44
31,616,078
เบลเยียม
79
25,672,563
สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
98
24,922,054
โปรตุเกส
87
24,616,852
รวันดา
65
22,715,578
สวีเดน
75
22,674,504
ยูกันดา
24
21,756,456
กรีซ
74
21,111,318
คาซัคสถาน
49
20,918,681
แองโกลา
21
20,397,115
กานา
23
18,643,437
อิรัก
18
18,636,865
เคนยา
17
18,535,975
ออสเตรีย
73
18,418,001
อิสราเอล
66
18,190,799
กัวเตมาลา
35
17,957,760
ฮ่องกง
86
17,731,631
สาธารณรัฐเช็ก
64
17,676,269
โรมาเนีย
42
16,827,486
ฮังการี
64
16,530,488
สาธารณรัฐโดมินิกัน
55
15,784,815
สวิตเซอร์แลนด์
69
15,759,752
แอลจีเรีย
15
15,205,854
ฮอนดูรัส
53
14,444,316
สิงคโปร์
92
14,225,122
โบลิเวีย
51
13,892,966
ทาจิกิสถาน
52
13,782,905
อาเซอร์ไบจาน
47
13,772,531
เดนมาร์ก
82
13,227,724
เบลารุส
67
13,206,203
ตูนิเซีย
53
13,192,714
โกตดิวัวร์
20
12,753,769
ฟินแลนด์
78
12,168,388
ซิมบับเว
31
12,006,503
นิการากัว
82
11,441,278
นอร์เวย์
74
11,413,904
นิวซีแลนด์
80
11,165,408
คอสตาริกา
81
11,017,624
ไอร์แลนด์
81
10,984,032
เอลซัลวาดอร์
66
10,958,940
สปป.ลาว
69
10,894,482
จอร์แดน
44
10,007,983
ปารากวัย
48
8,952,310
แทนซาเนีย
7
8,837,371
อุรุกวัย
83
8,682,129
เซอร์เบีย
48
8,534,688
ปานามา
71
8,366,229
ซูดาน
10
8,179,010
คูเวต
77
8,120,613
แซมเบีย
24
7,199,179
เติร์กเมนิสถาน
48
7,140,000
สโลวาเกีย
51
7,076,057
โอมาน
58
7,068,002
กาตาร์
90
6,981,756
อัฟกานิสถาน
13
6,445,359
กินี
20
6,329,141
เลบานอน
35
5,673,326
มองโกเลีย
65
5,492,919
โครเอเชีย
55
5,258,768
ลิทัวเนีย
70
4,489,177
บัลแกเรีย
30
4,413,874
ซีเรีย
10
4,232,490
ดินแดนปาเลสไตน์
34
3,734,270
เบนิน
22
3,681,560
ลิเบีย
17
3,579,762
ไนเจอร์
10
3,530,154
สาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก
2
3,514,480
เซียร์ราลีโอน
23
3,493,386
บาห์เรน
70
3,455,214
โตโก
18
3,290,821
คีร์กิซสถาน
20
3,154,348
โซมาเลีย
10
3,143,630
สโลวีเนีย
59
2,996,484
บูร์กินาฟาโซ
7
2,947,625
แอลเบเนีย
43
2,906,126
จอร์เจีย
32
2,902,085
ลัตเวีย
70
2,893,861
มอริเตเนีย
28
2,872,677
บอตสวานา
63
2,730,607
ไลบีเรีย
41
2,716,330
มอริเชียส
74
2,559,789
เซเนกัล
6
2,523,856
มาลี
6
2,406,986
มาดากัสการ์
4
2,369,775
ชาด
12
2,356,138
มาลาวี
8
2,166,402
มอลโดวา
26
2,165,600
อาร์เมเนีย
33
2,150,112
เอสโตเนีย
64
1,993,944
บอสเนีย และเฮอร์เซโกวินา
26
1,924,950
ภูฏาน
86
1,910,077
มาซิโดเนียเหนือ
40
1,850,145
แคเมอรูน
4
1,838,907
คอซอวอ
46
1,830,809
ไซปรัส
72
1,788,761
ติมอร์-เลสเต
52
1,638,158
ฟิจิ
70
1,609,748
ตรินิแดดและโตเบโก
51
1,574,574
จาเมกา
24
1,459,394
มาเก๊า
89
1,441,062
มอลตา
91
1,317,628
ลักเซมเบิร์ก
73
1,304,777
ซูดานใต้
10
1,226,772
สาธารณรัฐแอฟริกากลาง
22
1,217,399
บรูไน (ดารุสซาลาม)
97
1,173,118
กายอานา
58
1,011,150
มัลดีฟส์
71
945,036
เลโซโท
34
933,825
เยเมน
1
864,544
คองโก
12
831,318
นามิเบีย
16
825,518
แกมเบีย
14
812,811
ไอซ์แลนด์
79
805,469
กาบูเวร์ดี
55
773,810
มอนเตเนโกร
45
675,285
คอโมโรส
34
642,320
ปาปัวนิวกินี
3
615,156
กินีบิสเซา
17
572,954
กาบอง
11
567,575
เอสวาตีนี
29
535,393
สุรินัม
40
505,699
ซามัว
99
494,684
เบลีซ
53
489,508
อิเควทอเรลกินี
14
484,554
หมู่เกาะโซโลมอน
25
463,637
เฮติ
1
342,724
บาฮามาส
40
340,866
บาร์เบโดส
53
316,212
วานูอาตู
40
309,433
ตองกา
91
242,634
เจอร์ซีย์
80
236,026
จิบูตี
16
222,387
เซเชลส์
82
221,597
เซาตูเมและปรินซิปี
44
218,850
ไอล์ ออฟ แมน
79
189,994
เกิร์นซีย์
81
157,161
อันดอร์รา
69
153,383
คิริบาส
50
147,497
หมู่เกาะเคย์แมน
90
145,906
เบอร์มิวดา
77
131,612
แอนติกา และบาร์บูดา
63
126,122
เซนต์ลูเซีย
29
121,513
ยิบรอลตาร์
123
119,855
หมู่เกาะแฟโร
83
103,894
เกรนาดา
34
89,147
กรีนแลนด์
68
79,745
เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์
28
71,501
ลิกเตนสไตน์
69
70,780
หมู่เกาะเติกส์และหมู่เกาะเคคอส
76
69,803
ซานมาริโน
69
69,338
โดมินิกา
42
66,992
โมนาโก
65
65,140
เซนต์คิตส์และเนวิส
49
60,467
หมู่เกาะบริติชเวอร์จิน
59
41,198
หมู่เกาะคุก
84
39,780
แองกวิลลา
67
23,926
นาอูรู
79
22,976
บุรุนดี
0.12
17,139
ตูวาลู
52
12,528
เซนต์เฮเลนา
58
7,892
มอนต์เซอร์รัต
38
4,422
หมู่เกาะฟอล์กแลนด์
50
4,407
นีอูเอ
88
4,161
โทเคอเลา
71
1,936
พิตแคร์น
100
94
เกาหลีเหนือ
0
0
เกาะเซาท์จอร์เจียและหมู่เกาะเซาท์แซนด์วิช
0
0
บริติชอินเดียโอเชียนเทร์ริทอรี
0
0
วาติกัน
0
0
เอริเทรีย
0
0

โปรดอัปเกรดเบราว์เซอร์ของคุณเพื่อประสบการณ์รับชมอย่างเต็มรูปแบบ

ในขณะนี้สหรัฐฯและสหราชอาณาจักรมีวัคซีนอย่างเหลือเฟือ เนื่องจากมีเงินลงทุนจำนวนมหาศาลเพื่อการพัฒนาวัคซีน ทำให้พวกเขาอยู่ในลำดับแรกที่จะได้รับวัคซีนก่อนใคร ส่วนลำดับถัดมาได้แก่แคนาดาและสหภาพยุโรป

ประเทศที่มีรายได้น้อยส่วนใหญ่ยังไม่ได้เริ่มฉีดวัคซีนโควิดกันแต่อย่างใด แต่ก็มีบางประเทศที่ทำได้อย่างรวดเร็วเกินคาด มาดูกันว่านานาประเทศทั่วโลกต่างดำเนินการให้วัคซีนกับประชากรของตนไปถึงไหนกันแล้ว

การให้วัคซีนทั่วโลก

แคนาดาถูกวิจารณ์อย่างหนักเมื่อช่วงสิ้นปีที่ผ่านมา หลังกว้านซื้อวัคซีนมากักตุนไว้ถึง 5 เท่าของจำนวนที่ต้องใช้จริงกับประชากรทั้งหมด แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าแคนาดาจะได้รับวัคซีนก่อนเพื่อน เนื่องจากได้เลือกลงทุนกับวัคซีนที่ผลิตจากโรงงานในสหภาพยุโรป เพราะเกรงว่าสหรัฐฯในยุคของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ อาจสั่งห้ามส่งออกวัคซีนได้

แต่นั่นเป็นการประเมินสถานการณ์ผิดพลาดครั้งใหญ่ ปัจจุบันโรงงานในยุโรปกำลังประสบความยากลำบากในการผลิตและจัดส่งวัคซีนให้ผู้สั่งจอง ส่วนสหภาพยุโรปเองก็ยังมาประกาศห้ามการส่งออก แทนที่จะเป็นสหรัฐฯ ตามที่แคนาดาได้เคยคาดเอาไว้

"ตราบใดที่ตลาดยุโรปยังมีวัคซีนไม่เพียงพอ สินค้าล็อตใหญ่ที่แคนาดาสั่งจองไว้นั้นก็น่าจะยังไม่ได้เช่นกัน" อากาเท เดมาไรส์ กล่าว

ถึงกระนั้นก็ตาม มีบางประเทศที่สามารถจัดหาและกระจายวัคซีนให้ถึงมือประชาชนได้ดีเกินคาด ตัวอย่างเช่น เซอร์เบียซึ่งมีอัตราประชากรที่ได้รับวัคซีนโควิดสูงสุดในลำดับที่ 8 ของโลก และสูงกว่าประเทศใด ๆ ในสหภาพยุโรป

ความสำเร็จของเซอร์เบียนั้น นอกจากจะเป็นผลสัมฤทธิ์ของแผนแจกจ่ายวัคซีนที่มีประสิทธิภาพแล้ว ยังเป็นผลพลอยได้จากการทูตที่ใช้วัคซีนเป็นสื่อผูกใจอีกด้วย การที่จีนและรัสเซียต่างแข่งขันกันแผ่อิทธิพลเหนือภูมิภาคยุโรปตะวันออก ทำให้เซอร์เบียเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศ ที่มีทั้งวัคซีนสปุตนิก วี ของรัสเซีย และวัคซีนจากบริษัทซิโนฟาร์มของจีนไว้ใช้พร้อมกัน

ตามนโยบายที่รัฐบาลประกาศไว้นั้น ชาวเซอร์เบียสามารถเลือกรับวัคซีนของบริษัทไฟเซอร์ วัคซีนสปุตนิก วี หรือวัคซีนของจีนก็ได้ตามใจชอบ แต่ในทางปฏิบัติแล้วประชากรส่วนใหญ่จะได้ฉีดวัคซีนของบริษัทซิโนฟาร์มมากกว่า

อิทธิพลของการทูตวัคซีนที่จีนฝากไว้นี้ น่าจะส่งผลกระทบต่อไปอีกในระยะยาว เพราะเมื่อรับวัคซีนเข็มที่หนึ่งและสองไปแล้ว ก็มีแนวโน้มว่าจะต้องพึ่งพาวัคซีนที่ปรับปรุงสำหรับไวรัสกลายพันธุ์จากบริษัทเดิมอีก

สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์หรือยูเออีนั้นก็ต้องพึ่งพาวัคซีนของซิโนฟาร์มอย่างมาก โดยคิดเป็นจำนวนถึง 80% ของวัคซีนโควิดที่ฉีดให้กับคนในประเทศขณะนี้ แถมยังมีการก่อสร้างโรงงานผลิตวัคซีนของซิโนฟาร์มในยูเออีอยู่อีกด้วย

"จีนมาพร้อมกับโรงงานและพนักงานที่ผ่านการฝึกฝนมาดีแล้ว จึงเป็นสิ่งที่จะทำให้จีนมีอิทธิพลยืนยาวต่อไปในต่างประเทศ" อากาเท เดมาไรส์ กล่าว "เรื่องนี้จะทำให้ประเทศผู้รับความช่วยเหลือ ปฏิเสธคำขอของจีนในอนาคตได้ยากมาก"

อย่างไรก็ตาม การเป็นชาติมหาอำนาจผู้แจกจ่ายวัคซีนนั้น ไม่ได้หมายความว่าพลเมืองของตนเองจะต้องได้รับวัคซีนโควิดก่อนใคร ผลวิจัยของ EIU คาดว่าจีนและอินเดีย สองชาติมหาอำนาจด้านการผลิตวัคซีนของโลก จะยังไม่สามารถฉีดวัคซีนให้คนของตนเองได้ทั่วถึงก่อนสิ้นปี 2022 เพราะมีประชากรจำนวนมากและขาดแคลนเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

ที่มาของภาพ, Getty Images

ความสำเร็จส่วนใหญ่ของอินเดียในฐานะผู้ผลิตวัคซีนนั้น มาจากผู้ชายเพียงคนเดียว เขาชื่ออาดาร์ ปูนาวัลลา เจ้าของสถาบันซีรัมแห่งอินเดีย ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตวัคซีนรายใหญ่ที่สุดของโลก

เมื่อช่วงกลางปีที่ผ่านมา ครอบครัวของปูนาวัลลาคิดว่าเขาได้สติฟั่นเฟือนไปเสียแล้ว หลังจากใช้เงินส่วนตัวหลายร้อยล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เดิมพันกับการคิดค้นวัคซีนโควิดที่ตัวเขาเองก็ไม่รู้ว่าจะสำเร็จหรือไม่

เมื่อเดือนมกราคม วัคซีนโควิด-19 ที่พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ดและบริษัทแอสตร้าเซนเนก้า ได้ส่งถึงมือรัฐบาลอินเดียเป็นที่เรียบร้อย และขณะนี้บริษัทของปูนาวัลลาก็กำลังผลิตวัคซีนสูตรดังกล่าวอยู่ในอัตรา 2.4 ล้านโดสต่อวัน ถือเป็นหนึ่งในสองผู้จัดส่งวัคซีนโควิดรายใหญ่ให้กับประเทศอินเดีย ทั้งยังผลิตส่งให้กับบราซิล โมร็อกโก บังกลาเทศ และแอฟริกาใต้อีกด้วย

"ผมว่าแรงกดดันและความบ้าบิ่นต่าง ๆ ได้ยุติลงแล้ว หลังเราทำการผลิตได้สำเร็จ" ปูนาวัลลากล่าว "แต่ความท้าทายที่แท้จริงคือการพยายามทำให้ทุกคนพอใจต่างหาก"

"ผมเคยคิดว่าจะมีผู้ผลิตหลายรายที่สามารถจัดส่งวัคซีนได้ตามกำหนด แต่น่าเสียดายว่าในตอนนี้ อย่างน้อยในไตรมาสแรกหรือไตรมาสที่สองของปี 2021 เราจะยังไม่เห็นว่ากำลังการผลิตเพิ่มขึ้นมากเท่าใดนัก"

ที่มาของภาพ, Getty Images

ปูนาวัลลายังบอกว่าไม่สามารถจะเร่งอัตราการผลิตได้ในชั่วข้ามคืน "มันต้องใช้เวลา แต่คนมักคิดว่าเรามีน้ำยาวิเศษ ใช่...เราทำสิ่งที่กำลังทำอยู่ได้ดี แต่เราไม่มีไม้กายสิทธิ์ที่เสกทุกอย่างได้ดังใจ"

อย่างไรก็ตาม บริษัทของเขาก็ยังนำหน้าผู้ผลิตวัคซีนรายอื่นอยู่มากโข เนื่องจากได้ลงมือสร้างโรงงานตั้งแต่เดือนมีนาคมของปีที่แล้ว และเริ่มกักตุนวัตถุดิบเช่นสารเคมีต่าง ๆ รวมทั้งขวดแก้วมาตั้งแต่เดือนสิงหาคม

ปริมาณวัคซีนที่ผลิตได้ในแต่ละครั้งนั้นอาจแตกต่างกันไปอย่างมาก และมีหลายขั้นตอนที่เสี่ยงจะเกิดความผิดพลาดได้ง่าย "มันเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์" อากาเท เดมาไรส์ กล่าว

สำหรับผู้ผลิตที่เพิ่งเริ่มเดินเครื่องในตอนนี้ ยังคงต้องใช้เวลาอีกหลายเดือนกว่าจะผลิตวัคซีนล็อตแรกออกมาได้ ส่วนวัคซีนรุ่นที่ปรับปรุงสมรรถนะเพื่อป้องกันไวรัสกลายพันธุ์ ก็ต้องใช้เวลาคิดค้นและผลิตอย่างยาวนานเช่นเดียวกัน

ปูนาวัลลาบอกว่า เขามีความตั้งใจจะผลิตวัคซีนโควิด-19 ให้กับอินเดียก่อน แล้วจึงจัดส่งให้กับประเทศในแอฟริกาต่อไป ผ่านโครงการโคแวกซ์ (Covax) ของสหประชาชาติ

โครงการดังกล่าวเป็นความริเริ่มที่นำโดยองค์การอนามัยโลก (WHO) ร่วมกับเครือข่ายพันธมิตรวัคซีน Gavi และศูนย์เพื่อการเตรียมพร้อมรับมือโรคระบาด (CEPI) โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะมอบวัคซีนราคาถูกให้กับทุกประเทศทั่วโลก

ประเทศที่ไม่มีงบประมาณเพียงพอต่อการจัดซื้อวัคซีน จะได้รับฟรีด้วยเงินสนับสนุนจากกองทุนพิเศษ ส่วนประเทศอื่น ๆ ที่ไม่อยู่ในเกณฑ์นี้จะต้องจ่ายเงินเอง แต่อาจจะได้ซื้อวัคซีนจากผู้ผลิตในราคาที่ถูกลงมาก ผ่านการเจรจาที่ทางโครงการเป็นผู้ประสานงานให้

โครงการโคแวกซ์มีแผนจะเริ่มแจกจ่ายวัคซีนในช่วงปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2021 แต่กว่าจะถึงตอนนั้น โครงการอาจพบอุปสรรคจนต้องพับไปเสียก่อน เพราะหลายประเทศที่เข้าร่วมโครงการ ต่างชิงเปิดการเจรจาเพื่อแย่งซื้อวัคซีนตัดหน้ากันเองด้วย

อาดาร์ ปูนาวัลลา บอกว่าผู้นำชาติต่าง ๆ ในทวีปแอฟริกาเกือบทุกประเทศ ได้ติดต่อมาหาเขาโดยตรงแบบไม่ผ่านโครงการโคแว็กซ์ เพื่อให้ได้โอกาสเข้าถึงวัคซีนโควิดด้วยตนเอง เมื่อสัปดาห์ที่แล้วยูกันดาเพิ่งประกาศว่า ได้สั่งจองวัคซีนโควิดจำนวน 18 ล้านโดสจากสถาบันเซรัมแห่งอินเดีย ในราคา 7 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อโดส สูงกว่าราคาที่เจรจาผ่านโครงการโคแวกซ์ซึ่งอยู่ที่ 4 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อโดส

ที่มาของภาพ, EPA

คำบรรยายภาพ,

โคแวกซ์เรียกร้องนานาชาติร่วมบริจาคเงินเข้าโครงการให้มากขึ้น

ทางสถาบันยอมรับว่าได้เจรจากับยูกันดาจริง แต่ปฏิเสธว่ายังไม่ได้มีการลงนามในสัญญาใด ๆ ทั้งสิ้น และจะจัดส่งวัคซีนสูตรของแอสตร้าเซนเนก้าให้กับโครงการโคแว็กซ์ 200 ล้านโดส ในทันทีที่ได้รับอนุมัติจากองค์การอนามัยโลก นายปูนาวัลลายังระบุว่า เขาได้ให้คำมั่นจะมอบวัคซีนให้โครงการโคแว็กซ์เพิ่มเติมอีก 900 ล้านโดส แต่ยังไม่มีการยืนยันว่าจะจัดส่งให้เมื่อใดแน่

แม้เขาจะยึดมั่นต่อคำสัญญาที่ให้ไว้ แต่ปูนาวัลลาได้เผยว่าโครงการโคแวกซ์ก็กำลังเผชิญปัญหาอยู่เช่นกัน เพราะติดต่อเจรจากับผู้ผลิตวัคซีนหลายรายเกินไป ซึ่งแต่ละเจ้าต่างเสนอราคาและกำหนดเวลาส่งมอบสินค้าไม่เหมือนกัน

อากาเท เดมาไรส์ และทีมวิจัย EIU ไม่ได้มองว่าสถานะของโครงการโคแว็กซ์ในขณะนี้จะส่อแววสดใสรุ่งโรจน์แต่ประการใด เพราะแม้จะทำตามแผนที่วางไว้สำเร็จ ทว่าในปีนี้โคแว็กซ์ก็ตั้งเป้าฉีดวัคซีนได้เพียง 20% - 27 %ของประชากรในแต่ละประเทศเท่านั้น

"อัตราการฉีดวัคซีนเพียงเท่านี้สร้างความแตกต่างได้น้อยมาก และจะไม่ช่วยพลิกสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 แต่อย่างใด" เดมาไรส์กล่าว ผลการศึกษาของเธอและทีมวิจัย EIU ยังชี้ว่า บางประเทศอาจยังไม่สามารถฉีดวัคซีนให้พลเมืองทั้งหมดได้ภายในปี 2023 หรืออาจจะทำไม่ได้เลยด้วยซ้ำ

วัคซีนโควิดอาจไม่ใช่สิ่งสำคัญลำดับแรกที่ทุกประเทศต้องมี โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับประเทศที่มีประชากรหนุ่มสาวจำนวนมากและยังไม่พบผู้ป่วยกลุ่มใหญ่นัก แต่ตราบใดที่ยังมีแหล่งเพาะพันธุ์ไวรัสอยู่ พวกมันจะสามารถกลายพันธุ์และแพร่กระจายได้ ไวรัสสายพันธุ์ใหม่ที่ต้านทานวัคซีนจะเกิดขึ้นมาอย่างแน่นอนและมีวิวัฒนาการต่อไป

อันที่จริงเรื่องนี้ไม่ได้มีแต่ข่าวร้ายไปเสียทั้งหมด เพราะเรากำลังผลิตวัคซีนได้ในอัตราที่เร็วยิ่งขึ้น แต่การฉีดวัคซีนให้ครอบคลุมประชากรโลก 7.7 พันล้านคนนั้น ถือเป็นงานช้างที่ยังไม่เคยมีมนุษย์ในยุคใดพยายามทำมาก่อน

ท้ายที่สุดแล้ว เดมาไรส์เห็นว่ารัฐบาลของประเทศต่าง ๆ ควรจะพูดความจริงกับประชาชน "มันเป็นเรื่องยากที่รัฐบาลจะพูดปฏิเสธ มันยากที่จะบอกว่าไม่...เราไม่อาจจะสร้างภูมิคุ้มกันในวงกว้างให้เกิดขึ้นได้ แม้ในอีกหลายปีต่อจากนี้ ไม่มีใครอยากจะพูดออกไปแบบนั้น"

งานวารสารศาสตร์เชิงข้อมูล โดย เบ็กกี เดล และ นาสซอส สตีลิอานู