ยกเสาเอกพระเมรุมาศ
การสร้างพระเมรุมาศสำหรับถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระมหากษัตริยาธิราชเป็นราชประเพณีที่สืบเนื่องมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา รูปแบบของพระเมรุมาศเปรียบดังทิพยวิมานที่ประดิษฐานอยู่เหนือยอดเขาพระสุเมรุ อันเป็นศูนย์กลางของจักรวาล

ที่มาของภาพ, AFP
พระเมรุมาศอันเป็นที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพต้องสร้างสรรค์ขึ้นอย่างประณีตงดงามสมพระเกียรติยศตามแบบแผนของสถาปัตยกรรมไทย
ที่มาของภาพ, AFP
เสาเอกมีความสูง 21.90 เมตร มีน้ำหนัก 19 ตัน/ต้น
ที่มาของภาพ, Wasawat Lukharang
การแสดงรำบวงสรวงเป็นการสืบทอดประเพณีที่ปฏิบัติมา ด้วยการรำเพลงเช้าเพลงเร็ว และต่อด้วยเพลงหน้าพาทย์โปรยข้าวตอกในช่วงท้ายของการทำพิธีเพื่ออวยชัยให้พร
ที่มาของภาพ, AFP
กรมศิลปากรกำหนดให้ผู้แสดงเป็นนาฏศิลปินหญิงตามจารีตละครหลวงของราชสำนักชั้นใน (พระ-นาง) จำนวน 9 คู่ มีความหมายแสดงถึงพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เป็นพระมหาษัตริย์รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี
ที่มาของภาพ, Wasawat Lukharang
พิธีบวงสรวงการก่อสร้างและยกเสาเอกพระเมรุมาศมีขึ้น ณ บริเวณสนามหลวงด้านทิศใต้
ที่มาของภาพ, Wasawat Lukharag
การเซ่นสรวงบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อขอขมาและนำความเป็นสิริมงคลมาสู่พิธี