เลือกตั้ง 2562 : เปิดข้อมูล 6 หน่วยเลือกตั้ง “บัตรเขย่ง” ก่อนเลือกตั้งใหม่ 21 เม.ย.

  • หทัยกาญจน์ ตรีสุวรรณ
  • ผู้สื่อข่าวบีบีซีไทย
เลือกตั้ง

ที่มาของภาพ, WASAWAT LUKHARANG/BBC THAI

การจัดการเลือกตั้งใหม่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) แบบแบ่งเขต จำนวน 6 หน่วยเลือกตั้ง ใน 5 จังหวัด กำลังจะเกิดขึ้นในวันที่ 21 เม.ย. หลังเกิดปรากฏการณ์ "บัตรเขย่ง" ขึ้นในพื้นที่เหล่านี้

การจัดการเลือกตั้งใหม่ครั้งนี้ เป็นไปตามมติคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เมื่อ 3 เม.ย. ที่ผ่านมา หลังพบว่าจำนวนผู้มาใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งเมื่อ 24 มี.ค. ไม่ตรงกับจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ออกเสียงลงคะแนน และไม่อาจหาสาเหตุที่ชัดเจนได้ หรือที่เรียกว่า "บัตรเขย่ง"

บีบีซีไทยตรวจสอบพบว่า จำนวนผู้มาแสดงตนขอใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งใน 6 หน่วยเลือกตั้งนี้ มีจำนวนเกินกว่าจำนวนบัตรเลือกตั้งที่ใช้จริง 9 ใบ

สำหรับพื้นที่ที่ต้องจัดการเลือกตั้งใหม่นี้ เป็นพื้นที่ที่พรรคเพื่อไทย (พท.) ชนะการเลือกตั้งไป 3 เขต และพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ชนะการเลือกตั้งไป 2 เขต ทว่าในแต่ละเขตเลือกตั้ง ผู้สมัคร ส.ส. ที่ได้คะแนนมาเป็นอันดับ 1 กับ 2 มีคะแนนทิ้งห่างกัน ตั้งแต่ 3,577-36,292 คะแนน ดังนั้นการจัดการเลือกตั้งใหม่เพียง 1-2 หน่วยเลือกตั้งในเขตเลือกตั้งนั้น ๆ ซึ่งมีคะแนน "หลักร้อย-หลักพัน" ต่อหน่วย จึงไม่สามารถเปลี่ยนแปลงผลแพ้ชนะได้ แต่อาจมีผลต่อคะแนน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองต่าง ๆ บ้างเล็กน้อย ท่ามกลางการชิงกันเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาลของ 2 ขั้วการเมือง

แต่ถึงกระนั้น ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งใน 6 หน่วยเลือกตั้ง ซึ่งมีจำนวนรวมกัน 4,513 คน ต้องออกไปใช้สิทธิเลือกตั้ง ซึ่ง กกต. ประเมินว่าอาจมีจำนวนลดลง เพราะประชาชนเบื่อหน่าย กอปรกับรู้ผลแพ้ชนะไปแล้ว

"หากไม่มาใช้สิทธิ เขาก็จะเสียสิทธิตามกฎหมายแบบในการเลือกตั้งทั่วไปเลย เช่น การสมัครเป็นข้าราชการท้องถิ่น ขณะเดียวกันประชาชนที่ไม่ได้ไปเลิอกตั้งครั้งก่อน ถ้าเขามาวันที่ 21 เม.ย. เขาก็จะได้ 'ล้างผิด' และได้ 'คืนสิทธิ' ต่าง ๆ ตามที่กฎหมายกำหนด" น.ส. วิชชุดา เมฆานุวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำกรุงเทพมหานคร กล่าวกับบีบีซีไทย

สำหรับผู้สมัครรับเลือกตั้งใหม่ยังเป็นผู้สมัครหน้าเดิมรวมทั้งสิ้น 149 คน พวกเขาสามารถหาเสียงได้ตามปกติภายใต้ค่าใช้จ่ายที่ กกต. กำหนดไว้ไม่เกิน 1.5 ล้านบาท/คน

บีบีซีไทยตรวจสอบและรวบรวมข้อมูลแต่ละหน่วยเลือกตั้งที่ต้องจัดการเลือกตั้งใหม่ในวันอาทิตย์ที่จะถึงนี้ จาก กกต.จว. และ กกต.กลาง สรุปรายละเอียดที่น่าสนใจไว้ ดังนี้

ลำปาง :เขตเลือกตั้งที่ 4 หน่วยเลือกตั้งที่ 6 หมู่ที่ 5 ต. ลำปางหลวง อ. เกาะคา

  • ผู้สมัคร ส.ส. รวม 29 คน
  • ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง 824 คน
  • ปัญหา : เมื่อวันที่ 24 มี.ค. มีผู้ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง 580 คน แต่มีบัตรที่ใช้ไป 578 ใบ
  • ผลการนับคะแนนที่เขตเลือกตั้ง 100% : 1) นายอิทธิรัตน์ จันทร์สุรินทร์ พรรคเพื่อไทย ได้คะแนนสูงสุด 42,984 คะแนน 2) นายวัฒนา สิทธิวัง พรรคพรรคพลังประชารัฐ 30,368 คะแนน และ 3) น.ส. พิมดารา ศิริสลุง พรรคอนาคตใหม่ 26,471 คะแนน

ลำปาง : เขตเลือกตั้งที่ 4 หน่วยเลือกตั้งที่ 3 หมู่ที่ 2 ต. ศาลา อ. เกาะคา

  • ผู้สมัคร ส.ส. รวม 29 คน
  • ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง 714 คน
  • ปัญหา : เมื่อวันที่ 24 มี.ค. มีผู้ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง 542 คน แต่มีบัตรที่ใช้ไป 539 ใบ
  • ผลการนับคะแนนที่เขตเลือกตั้ง 100% : 1) นายอิทธิรัตน์ จันทร์สุรินทร์ พรรคเพื่อไทย ได้คะแนนสูงสุด 42,984 คะแนน 2) นายวัฒนา สิทธิวัง พรรคพรรคพลังประชารัฐ 30,368 คะแนน และ 3) น.ส. พิมดารา ศิริสลุง พรรคอนาคตใหม่ 26,471 คะแนน

ยโสธร : เขตเลือกตั้งที่ 2 หน่วยเลือกตั้งที่ 6 หมู่ที่ 6 ต. หัวเมือง อ. มหาชนะชัย

  • ผู้สมัคร ส.ส. รวม 30 คน
  • ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง 436 คน
  • ปัญหา : เมื่อวันที่ 24 มี.ค. มีผู้ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง 288 คน แต่มีบัตรที่ใช้ไป 287 ใบ
  • ผลการนับคะแนนที่เขตเลือกตั้ง 100% : 1) นายบุญแก้ว สมวงศ์ พรรคเพื่อไทย ได้คะแนนสูงสุด 50,584 คะแนน 2) นายรณฤทธิชัย คานเขต พรรคพลังประชารัฐ 14,292 คะแนน และ 3) นายชื่น วงษ์เพ็ญ พรรคภูมิใจไทย 12,176 คะแนน

เพชรบูรณ์ : เขตเลือกตั้งที่ 1 หน่วยเลือกตั้งที่ 12 หมู่ที่ 12 ต. เข็กก้อย อ. เขาค้อ

  • ผู้สมัคร ส.ส. รวม 25 คน
  • ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง 1,371 คน
  • ปัญหา : เมื่อวันที่ 24 มี.ค. มีผู้ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง 955 คน แต่มีบัตรที่ใช้ไป 954 ใบ
  • ผลการนับคะแนนที่เขตเลือกตั้ง 100% : 1) น.ส. พิมพ์พร พฤพฤฒิพันธ์ พรรคพลังประชารัฐ ได้คะแนนสูงสุด 37,011 คะแนน 2) นายชัยณรงค์ สืบสุรีย์กุล พรรคประชาธิปัตย์ 15,119 คะแนน และ 3) นายวิจิตร พรพฤฒิพันธุ์ พรรคชาติไทยพัฒนา 14,716 คะแนฯ

พิษณุโลก : เขตเลือกตั้งที่ 2 หน่วยเลือกตั้งที่ 6 หมู่ที่ 6 ต. มะตูม อ. พรหมพิราม

  • ผู้สมัคร ส.ส. รวม 34 คน
  • ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง 366 คน
  • ปัญหา : เมื่อวันที่ 24 มี.ค. มีผู้ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง 269 คน แต่มีบัตรที่ใช้ไป 268 ใบ
  • ผลการนับคะแนนที่เขตเลือกตั้ง 100% : 1) นพพล เหลืองทองนารา พรรคเพื่อไทย ได้คะแนนสูงสุด 32,965 คะแนน 2) จ.ส.อ. พัฒณปกรณ์ ดอนตุ้มไพร พรรคพลังประชารัฐ 27,603 คะแนน และ 3) ร.ต. ณรงค์ ยาวขันแก้ว พรรคอนาคตใหม่ 14,725 คะแนน

กทม. : เขตเลือกตั้งที่ 13 หน่วยเลือกตั้งที่ 32 แขวงหัวหมาก เขตบางกะปิ

  • ผู้สมัคร ส.ส. รวม 31 คน
  • ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง 802 คน
  • ปัญหา : เมื่อวันที่ 24 มี.ค. มีผู้ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้ง 555 คน แต่มีบัตรที่ใช้ไป 554 ใบ
  • ผลการนับคะแนนที่เขตเลือกตั้ง 100% : 1) น.ส. ฐิติภัสร์ โชติเดชาชัยนันต์ พรรคพลังประชารัฐ ได้คะแนนสูงสุด 27,489 คะแนน 2) นายตรีรัตน์ ศิริจันทโรภาส พรรคเพื่อไทย 23,912 คะแนน 3) น.ส. ณิชชา บุญลือ พรรคอนาคตใหม่ 23,707 คะแนน และ 4) นายพริษฐ์ วัชรสินธุ พรรคประชาธิปัตย์ 17,958 คะแนน

ส.ส. ที่ได้รับเลือกตั้ง

คะแนนล่าสุด 9 พฤษภาคม 2562 19:55:51

2562

กระบี่

ที่นั่งทั้งหมด: 2
  • ภูมิใจไทย : 1
  • ประชาธิปัตย์ : 1

กรุงเทพมหานคร

ที่นั่งทั้งหมด: 30
  • พลังประชารัฐ : 12
  • อนาคตใหม่ : 9
  • เพื่อไทย : 9

กาญจนบุรี

ที่นั่งทั้งหมด: 5
  • พลังประชารัฐ : 4
  • ภูมิใจไทย : 1

กาฬสินธุ์

ที่นั่งทั้งหมด: 5
  • เพื่อไทย : 5

กำแพงเพชร

ที่นั่งทั้งหมด: 4
  • พลังประชารัฐ : 4

ขอนแก่น

ที่นั่งทั้งหมด: 10
  • เพื่อไทย : 8
  • อนาคตใหม่ : 1
  • พลังประชารัฐ : 1

จันทบุรี

ที่นั่งทั้งหมด: 3
  • อนาคตใหม่ : 3

ฉะเชิงเทรา

ที่นั่งทั้งหมด: 4
  • อนาคตใหม่ : 2
  • พลังประชารัฐ : 2

ชลบุรี

ที่นั่งทั้งหมด: 8
  • พลังประชารัฐ : 5
  • อนาคตใหม่ : 3

ชัยนาท

ที่นั่งทั้งหมด: 2
  • พลังประชารัฐ : 2

ชัยภูมิ

ที่นั่งทั้งหมด: 6
  • เพื่อไทย : 4
  • พลังประชารัฐ : 2

ชุมพร

ที่นั่งทั้งหมด: 3
  • ประชาธิปัตย์ : 2
  • เสรีรวมไทย: 1

เชียงราย

ที่นั่งทั้งหมด: 7
  • เพื่อไทย : 5
  • อนาคตใหม่ : 2

เชียงใหม่

ที่นั่งทั้งหมด: 9
  • เพื่อไทย : 9

ตรัง

ที่นั่งทั้งหมด: 3
  • ประชาธิปัตย์ : 2
  • พลังประชารัฐ : 1

ตราด

ที่นั่งทั้งหมด: 1
  • อนาคตใหม่ : 1

ตาก

ที่นั่งทั้งหมด: 3
  • พลังประชารัฐ : 2
  • ประชาธิปัตย์ : 1

นครนายก

ที่นั่งทั้งหมด: 1
  • เพื่อไทย : 1

นครปฐม

ที่นั่งทั้งหมด: 5
  • อนาคตใหม่ : 2
  • ชาติไทยพัฒนา : 1
  • พลังประชารัฐ : 1
  • ประชาธิปัตย์ : 1

นครพนม

ที่นั่งทั้งหมด: 4
  • เพื่อไทย : 3
  • ภูมิใจไทย : 1

นครราชสีมา

ที่นั่งทั้งหมด: 14
  • พลังประชารัฐ : 6
  • เพื่อไทย : 4
  • ภูมิใจไทย : 3
  • เศรษฐกิจใหม่: 1

นครศรีธรรมราช

ที่นั่งทั้งหมด: 8
  • ประชาธิปัตย์ : 5
  • พลังประชารัฐ : 3

นครสวรรค์

ที่นั่งทั้งหมด: 6
  • พลังประชารัฐ : 4
  • เพื่อไทย : 1
  • ภูมิใจไทย : 1

นนทบุรี

ที่นั่งทั้งหมด: 6
  • เพื่อไทย : 5
  • พลังประชารัฐ : 1

นราธิวาส

ที่นั่งทั้งหมด: 4
  • ประชาชาติ: 2
  • พลังประชารัฐ : 2

น่าน

ที่นั่งทั้งหมด: 3
  • เพื่อไทย : 3

บึงกาฬ

ที่นั่งทั้งหมด: 2
  • เพื่อไทย : 2

บุรีรัมย์

ที่นั่งทั้งหมด: 8
  • ภูมิใจไทย : 8

ปทุมธานี

ที่นั่งทั้งหมด: 6
  • เพื่อไทย : 4
  • อนาคตใหม่ : 1
  • ภูมิใจไทย : 1

ประจวบคีรีขันธ์

ที่นั่งทั้งหมด: 3
  • ประชาธิปัตย์ : 2
  • เพื่อไทย : 1

ปราจีนบุรี

ที่นั่งทั้งหมด: 3
  • ภูมิใจไทย : 3

ปัตตานี

ที่นั่งทั้งหมด: 4
  • ประชาชาติ: 2
  • ภูมิใจไทย : 1
  • ประชาธิปัตย์ : 1

พระนครศรีอยุธยา

ที่นั่งทั้งหมด: 4
  • เพื่อไทย : 2
  • ภูมิใจไทย : 2

พะเยา

ที่นั่งทั้งหมด: 3
  • พลังประชารัฐ : 2
  • เพื่อไทย : 1

พังงา

ที่นั่งทั้งหมด: 1
  • ประชาธิปัตย์ : 1

พัทลุง

ที่นั่งทั้งหมด: 3
  • ภูมิใจไทย : 2
  • ประชาธิปัตย์ : 1